Goii

บล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาในรายวิชา อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน ถ้าทำไม่สวยไม่ดี โปรดอย่าตำนิหรือด่ากันแรงเกินไปนะ



วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

จังหวัดร้อยเอ็ด

คำขวัญ :
ร้อยเอ็ดเพชรอิสาน พลาญชัยบึงงาม เรืองนามพระสูงใหญ่
ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บุญผะเหวด

ประวัติ :
จังหวัดร้อยเอ็ด ตามประวัติที่นายสบายได้อ่านมาเล่าว่า อดีตเคยเป็นเมืองใหญ่ที่รุ่งเรืองมาก ชื่อว่า สาเกตนคร มีประตูเข้าเมือง 11 ประตู เมืองขึ้น 11 เมือง แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากมาย เมืองร้อยเอ็ดได้เปลี่ยนแปลงไปจนแทบจะหาริ้วรอยแห่งอดีตไม่พบ ประวัติศาสตร์ของเมืองร้อยเอ็ด เริ่มปรากฏขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมีเจ้าลาวจากนครจำปาศักดิ์ ได้เดินทางมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่เป็นอำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน ต่อมาได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บริเวณเมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน ส่วนเมืองสุวรรณภูมิเดิมก็ยังคงมีอยู่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์คิดกบฏต่อกรุงเทพฯ ได้ยกทัพเข้ามาตีหัวเมืองรายทางจนถึงนครราชสีมา แต่ก็ถูกทัพไทยตีแตกพ่ายไปในที่สุด

อาณาเขต :
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ และมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ

ห่างจากกรุงเทพฯ509 กิโลเมตร พื้นที่ 7737.087 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ3 กิ่งอำเภอคือ อ.เมืองร้อยเอ็ด อ.เกษตรวิสัย อ. ปทุมรัตน์ อ.จตุรพักตรพิมาร อ. ธวัชบุรี อ. พนมไพร อ. โพธิ์ชัย อ. โพนทอง อ. เสลภูมิ อ. สุวรรณภูมิ อ.อาจสามารถ อ. หนองพอก อ. เมืองสรวง กิ่ง อ. เมยวดี กิ่ง อ. โพนกราย กิ่ง อ.ศรีสมเด็จ


เจดีย์ ชัยมงคล เป็นพระมหาเจดีย์ที่สูงอยู่ในลำดับต้น ๆ ของเจดีย์ในประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร สูง 101 เมตร ในเนื้อที่ 101 ไร่


บึงพลาญชัย

บึงพลาญชัย เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ตั้งอยู่กลางเมืองร้อยเอ็ด เป็นสัญลักษณ์ของตราประจำเมือง มีสะพานข้ามไปยังเกาะกลางบึง อันเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ ศาลหลักเมือง ที่ชาวร้อยเอ็ดให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

แต่เดิมบึงนี้ตื้นเขินเมื่ออำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์(ทอง จันทรางศุ) ย้ายมา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในราวปี พ.ศ. 2469-2470 มีดำริขอความร่วมมือกลับชาวร้อยเอ็ดให้มาขุดลอกบึง โดยนำดินที่ขุดได้ขึ้นมาถมบริเวณขอบบึง กลายเป็นเกาะกลางบึงตกแต่งเกาะดังกล่าวให้สวยงาม เป็นที่ตั้งศาลหลักเมืองประจำจังหวัดและด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประชาชนได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์อำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจจารักษ์ไว้เป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านได้พัฒนา เมืองร้อยเอ็ดในด้านต่างๆ